รู้ถึง บทบาท จป หัวหน้างาน ทำหน้าที่อะไรบ้างใรองค์กร Update

by admin

อย่างที่ทราบกันว่า จป หัวหน้างาน หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง ซึ่งหากเป็นหัวหน้างานก็จะต้องเป็น จป หัวหน้างานด้วยเช่นกัน

แต่ถ้าหากหัวหน้างานไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็น จป หัวหน้างานได้ นายจ้างต้องจัดให้หัวหน้างานได้รับการฝึกอบรม จป หัวหน้างาน เพื่อเป็น จป หัวหน้างาน

และ แจ้งชื่อเพื่อขึ้นทะเบียน เพื่อให้เป็น จป หัวหน้างาน อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายที่กำหนดบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ คือ กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565วันนี้เราจะมาดูกันว่า จป หัวหน้างาน มีหน้าที่อะไรบ้าง

แม้ว่าหัวหน้างานจะมีหน้าที่ในการทำงานอื่นๆเป็นจำนวนมากแล้วแต่ด้วยตำแหน่งที่เป็นหัวหน้างานจึงไม่สามารถที่จะปฏิเสธหน้าที่ของจปหัวหน้างานได้ซึ่งหน้าที่ของจปหัวหน้างานที่ถูกกำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่า

10 ข้อ หน้าที่ จป หัวหน้างาน

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานมีหน้าที่ 10 ข้อดังต่อไปนี้

  1. กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  2. วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นจากการทำงาน โดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
  3. จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ เพื่อเสนอคณะกรรมการความปลอดภัยหรือนายจ้าง แล้วแต่กรณี และทบทวนคู่มือดังกล่าวตามที่นายจ้างกำหนด โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุก 6 เดือน
  4. สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
  5. ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
  6. กำกับดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  7. รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัย ให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
  8. ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
  9. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
  10. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย

ฝึกอบรมเกี่ยวกับบทบาท และหน้าที่ จป หัวหน้างาน

สิ่งที่จะทำให้ จป หัวหน้างาน ทำหน้าได้อย่างถูกต้องและมีความเข้าใจในหน้าที่ของตนเอง สิ่งนั้นคือบุคคลนั้นจะต้องได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับบทบาท และหน้าที่ของตนเองในด้านความปลอดภัยในการทำงาน โดยหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับ จป หัวหน้างาน ได้กำหนดไว้ 12 ชั่วโมง 4 หมวดวิชา ซึ่งในการฝึกอบรมนายจ้างสามารถจัดฝึกอบรมเองหรือจะใช้บริการผู้จัดฝึกอบรมที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายก็ได้ แต่ในการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเข้าอบรมเต็มเวลา และผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนดด้วย จึงจะได้หลักฐานการผ่านการฝึกอบรม จป หัวหน้างาน

สรุป

เมื่อมีการแจ้งขึ้นทะเบียน จป หัวหน้างาน เพื่อทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบกิจการแล้ว อยู่มาวันหนึ่ง จป หัวหน้างาน พ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากหน้าที่ นายจ้างต้องแจ้งการพ้นจากตำแหน่งหรือหน้าที่ของ จป หัวหน้างานผู้นั้น ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทราบ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากหน้าที่

You may also like

บริษัท เซฟสิริ (ประเทศไทย) จำกัด

ปทุมธานี
ที่อยู่ 98/16 หมู่ 18 ถนนเชียงราก ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 (TU dome plaza ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต) ชั้น 3

T : 091 887 5136 (อบรม จป)

เพิ่มเพื่อน

ใบรับรองกรมสวัสดิการ

เรื่องราวล่าสุด

©2023 อบรม จป ภาคตะวันตก, A Media Company – All Right Reserved. Designed and Developed by Safety Member