ความปลอดภัยในการทำงานเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในสถานประกอบกิจการไม่ใช่หน้าที่ของใครเพียงคนเดียวเพียงแต่ว่าแต่ละคนมีหน้าที่ด้านความปลอดภัยที่แตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งตามบทบาทแต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน
คือเพื่อให้ทุกคนปลอดภัยจากอุบัติเหตุและไม่เจ็บป่วยจากการทำงานงานด้านความปลอดภัยเป็นงานที่ทำไม่มีวันเสร็จเพราะหากเราหยุดทำเมื่อไหร่อาจจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยขึ้นได้วันนี้เราจะพูดถึงบทบาทหน้าที่ด้านความปลอดภัยของจปบริหารว่ามีหน้าที่อะไรบ้างในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงาน
จป บริหาร มีคุณสมบัติอย่างไร
จป บริหาร เป็นลูกจ้างระดับบริหารของสถานประกอบกิจการซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง ผู้บริหารทุกคนที่มีตำแหน่งบริหาร จะต้องผ่านการอบรม จป บริหาร ซึ่งในส่วนของ จป บริหาร นั้นได้ถูกกำหนดบทบาทหน้าที่ด้านความปลอดภัยไว้อย่างชัดเจนใน กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากรหน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการพ.ศ. 2565 ข้อ 12 กำหนดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
- กำกับดูแลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของตน
- เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
- ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการ เพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
- กำกับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน คณะกรรมการความปลอดภัย หรือหน่วยงานความปลอดภัย
เมื่อดูจากหน้าที่ของจปบริหารตามที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากรหน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการพ.ศ. 2565 อาจมองว่าน้อยแต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ 4 ข้อที่กล่าวไปข้างต้นสำเร็จตามที่กำหนดไว้การกำกับดูแลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับซึ่งรวมถึงจปหัวหน้างาน จป เทคนิค จป เทคนิคขั้นสูง หรือ จป วิชาชีพ ที่อยู่ในความดูแลของ จป บริหาร
ไม่ใช่เรื่องง่ายต้องใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆเพื่อให้ทุกส่วนทำงานร่วมกันเพื่อทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้และต้องช่วยแก้ปัญหาต่างๆในเรื่องของความปลอดภัยในหน่วยงานที่ตนเองดูแลด้วยเพราะความปลอดภัยเป็นเรื่องที่ต้องทำตลอดเวลาหากปัจจุบันทำได้ดีอยู่แล้วก็ต้องปรับปรุงและพัฒนาเพื่อให้ดีขึ้นกว่าเดิมต้องเน้นที่การป้องกันก่อนเกิดเหตุไม่ใช่เพียงแค่แก้ไขหลังเกิดเหตุเท่านั้น
และหน้าที่ที่สำคัญอีกข้อที่จะทำให้ความปลอดภัยสามารถเดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นคืองบประมาณซึ่งก็เป็นหน้าที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของจปบริหารด้วยเช่นกันจปบริหารจะต้องนำเสนอโครงการด้านความปลอดภัยพร้อมงบประมาณต่อนายจ้างเพื่อให้นายจ้างพิจารณาอนุมัติซึ่งงานด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการจะเป็นไปในทิศทางใดก็ขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญของจปบริหารและนายจ้างด้วยเช่นกัน
สิ่งสำคัญคือ จป บริหาร จะต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเพื่อให้สามารถทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะจปบริหารเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการซึ่งสิ่งที่จะทำให้จปบริหารทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นคือการฝึกอบมเพื่อให้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ด้านความปลอดภัยของตนเองโดยหลักสูตรการฝึก อบรม จป บริหาร ได้กำหนดไว้ในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องหลักสูตรการฝึกอบรมคุณสมบัติวิทยากรและการดำเนิน
การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน และ ระดับบริหารโดยมีระยะเวลาการฝึกอบรม 12 ชั่วโมงประกอบด้วย 3 หมวดวิชาดังนี้
- หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับการบริหาร จัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
- หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- หมวดวิชาที่ 3 ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ซึ่งหากได้รับกานฝึกอบรมแล้วจะทำให้ จป บริหาร ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง และทำงานด้านการบริหารความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการฝึกอบรมดังกล่าวนายจ้างสามารถจัดฝึกอบรมเองหรือส่งลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมกับหน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทพเบียนถูกต้องตามกฎหมายก็ได้
สรุป
บุคลากรด้านความปลอดภัย ทุกส่วนมีความสำคัญต่อระบบการจัดการด้านความปลอดภัย จป บริหารเองก็เช่นกัน เพราะเป็นผู้ที่ดูภาพรวมในเรื่องความปลอดภัยภายในหน่วยงานที่ตนเองรับผิดชอบและบริหารจัดการด้านงบประมาณ ซึ่ง จป บริหารก็มีการพ้นจากตำแหน่งด้วยเช่นกัน หาก จป บริหารพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากหน้าที่นายจ้างต้องแจ้งให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทราบ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากหน้าที่