ความปลอดภัยในการทำงานเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติงานทุกคนในชีวิตของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมนอกจากต้องการเงินเดือนสูงๆสวัสดิการดีๆเรื่องของความปลอดภัยก็เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องการด้วยเช่นกัน
เพราะหากเราทำงานได้เงินจำนวนมากแต่ต้องนำเงินจำนวนนั้นไปไว้ใช้สำหรับรักษาตัวก็คงไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนต้องการในเรื่องของความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันไม่ใช่ปล่อยให้เป็นความรับผิดชอบของคนเพียงคนเดียวหรือคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
ซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมในการทำให้เกิดความปลอดภัยไม่ว่าจะป็นพนักงานหัวหน้างานผู้บริหารหรือแม้แต่นายจ้างเองซึ่งแต่ละคนก็มีหน้าที่ด้านความปลอดภัยที่แตกต่างกันออกไปแต่มีเป้าหมายเดียวกันคือเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับทุกคนในสถานประกอบกิจการนั่นเองวันนี้เราจะพูดถึงบุคคลที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยภายในสถานประกอบกิจการนั่นคือจปบริหารนั่นเอง
จป บริหาร คือใคร
ผู้บริหารคือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร คือ ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บริหารซึ่งมีหน้าที่และอำนาจทำการแทนนายจ้างในการจ้าง ผ่านการฝึกอบรม จป บริหาร ตามกฎหมาย และขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรียบร้อย มีอำนาจในการเลิกจ้าง การให้บำเหน็จ การลงโทษ หรือการวินิจฉัยข้อร้องทุกข์ และได้รับมอบหมายเป็นหนังสือให้เป็นผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเพื่อปฏิบัติหน้าที่ด้านความปลอดภัย ตามกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565
จป บริหาร หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร เป็นผู้บริหารในสถานประกอบกิจการ หรือที่เรารู้จักกันในนามผู้จัดการนั่นเอง ที่มีหน้าที่หลักในด้านการบริหาร จัดการ ซึ่งเมื่อมีตำแหน่งเป็นผู้บริหาร จะต้องเป็น จป บริหาร ด้วย โดยที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เพราะถูกบังคับโดยตำแหน่ง
จป บริหาร จัดเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง เช่นเดียวกับ จป หัวหน้างาน ซึ่งหากสถานประกอบกิจการที่กำหนดตามท้ายประกาศของกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 โดยได้ระบุไว้ดังนี้
สถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2 ที่มีลูกจ้างจำนวน 2 คนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามบัญชี 3 ที่มีลูกจ้างจำนวน 20 คนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้างระดับบริหารที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดทุกคน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารของสถานประกอบกิจการ
จป บริหาร ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ลูกจ้างระดับบริหารทุกคนจะต้องเป็นจปบริหารประจำสถานประกอบกิจการที่ตนเองทำงานอยู่แต่ไม่ใช่ว่าผู้บริหารทุกคนจะมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดเรามาดูกันว่านอกจากจะต้องเป็นลูกจ้างระดับบริหารแล้วยังต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
- ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
- เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
- มีคุณสมบัติที่สามารถเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ โดยสามารถดูจากข้อ 21 ของ
กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565
เมื่อเราทราบแล้วว่า จป บริหารจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร หากสถานประกอบกิจการมีผู้บริหารที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด ก็สามารถแต่งตั้งผู้บริหารท่านนั้นเป็น จป บริหารได้ทันที แต่หากผู้บริหารในสถานประกอบกิจการยังไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็น จป บริหารได้ ก็ให้นายจ้างนายส่งลูกจ้างระดับบริหารผู้นั้นเข้ารับการฝึกอบรม ภายใน 120 วันนับจากวันที่แต่งตั้งก็ได้ และเมื่อมีการแต่งตั้งแล้วนายจ้างต้องแจ้งชื่อลูกจ้างที่ได้รับการแต่งตั้งไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่เพื่อขึ้นทะเบียน เป็น จป บริหาร ประจำสถานประกอบกิจการด้วย
สรุป
จป บริหาร มีหน้าที่หลักในการบริหาร จัดการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับทุกคนที่อยู่ภายในสถานประกอบกิจการ ซึ่งลูกจ้างระดับบริหารทุกคนจะต้องได้รับการแต่งตั้งเป็น จป บริหาร เพื่อทำหน้าที่ด้านความปลอดภัย โดยจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่กฎหมายกำหนด หากไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดก็ให้ส่งเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็น จป บริหาร ได้